เครื่องมือ AI สามารถทำงานแทนคุณครูในห้องเรียนได้จริงหรือไม่ ?

Chinapat Rachrugs

Chinapat Rachrugs

เครื่องมือ AI สามารถทำงานแทนคุณครูในห้องเรียนได้จริงหรือไม่ ?

ในปัจจุบันนี้ไม่ว่าใครๆ ก็ทำงานง่ายขึ้น เพราะมีเครื่องมือยุคใหม่อย่างระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ช่วยให้เราแก้ไขปัญหาในการทำงานได้รวดเร็วกว่าเดิม เช่นเดียวกับคุณครูที่มีการนำ AI มาปรับใช้ในการทำงาน แต่สงสัยไหมว่า AI ทำงานแทนคุณครูในห้องเรียนได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ!

ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ระบบเทคโนโลยีบนโลกมนุษย์ถูกพัฒนาไปไกลอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ทำให้มีเครื่องมือใหม่ๆ ผุดขึ้นมาอย่างมากมายให้เราสามารถหยิบไปปรับใช้ในการทำงานได้ ซึ่งอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถูกพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพจนถูกนำมาช่วยเหลือในระบบการศึกษาคือ AI หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ปัญญาประดิษฐ์” ตัวช่วยดีๆ ที่ส่งเสริมให้การทำงานของคุณครูง่ายขึ้น ตั้งแต่การวางแผนการทำงาน ไปจนถึงการแก้ไขปัญหา

แต่ท่ามกลางความสะดวกสบายจากเครื่องมือ AI ที่คุณครูทั่วโลกเริ่มนำมาช่วยเหลือในการทำงาน หรือผลิตสื่อการสอนให้น่าสนใจ กลับทำให้ผู้คนในสังคมเกิดการตั้งคำถามว่าเครื่องมือ AI ฉลาดกว่าคุณครูหรือไม่? สามารถนำ AI มาทำงานแทนคุณครูในห้องเรียนได้หรือเปล่า จนกระทั่งเครื่องมือ AI จะส่งผลกระทบหรือเปลี่ยนแปลงอนาคตของอย่างศึกษาไปอย่างไร? บทความนี้จึงจะมาตอบความกังวล และคลายข้อสงสัยที่มีหลายคนอยากรู้กัน! 

มาแวะทำความรู้จักกันก่อน AI ที่หลายคนพูดถึง คืออะไรกันนะ ?

AI (Artificial Intelligence) หรือชื่อภาษาไทยที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ คือระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงพฤติกรรมใกล้เคียงกับการรับรู้ของมนุษย์ สามารถเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ที่ซับซ้อนได้ เช่น จดจำ แยกแยะ ให้เหตุผล ตัดสินใจ คาดการณ์ สื่อสารกับมนุษย์ ในบางกรณีอาจสามารถทำได้ถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้วงการดิจิทัลนำเทคโนโลยี AI เข้ามาพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ประหนึ่งมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติ

ในเมื่อ AI เก่งขนาดนี้ สามารถทำงานแทนคุณครูได้หรือไม่ ?

คำตอบนี้เราขอเฉลยให้หายสงสัยกันเลยว่า “ไม่ได้แน่นอน” เพราะถึงแม้ว่า AI จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ก้าวทันโลกปัจจุบัน และช่วยทุ่นแรงการทำงานของคุณครูได้รวดเร็วขึ้นมากแค่ไหน แต่ในการเรียนการสอนจริงๆ แล้วรากฐานขององค์ความรู้จะต้องมาจากคุณครูที่คอยให้การดูแลเอาใจใส่นักเรียนแบบรายบุคคล เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความชอบ ความสนใจ และความถนัดในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณครูจึงต้องคิดค้นรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน รวมถึงเหมาะกับแต่ละช่วงวัย ผ่านการดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิดในชีวิตจริง 

สิ่งสำคัญที่ทำให้คุณครูทำงานได้ดีกว่า AI และเครื่องมือ AI เองก็ไม่สามารถเข้ามาทดแทนคุณครูในห้องเรียนได้ คือการที่ AI ไม่สามารถแสดงความเข้าใจและโต้ตอบความสงสัยของนักเรียนได้อย่างลึกซึ้ง รวมถึงไม่สามารถแสดงอารมณ์เข้าอกเข้าใจมนุษย์ หรือให้การอบรมทางความคิดหรือจิตใจของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง จึงไม่ต่างอะไรกับการที่นักเรียนกำลังสื่อสารกับหุ่นยนต์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนามาอย่างชาญฉลาด อีกทั้งยังสามารถค้นหาความรู้ได้ตามที่ต้องการ แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจในมิติที่หลากหลายเหมือนกับการได้พูดคุยกับคุณครูผู้สอนในห้องอย่างเป็นธรรมชาตินั่นเอง

และถึงแม้ว่า AI จะสามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเพิ่มพูนฐานความรู้ใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้กับนักเรียนได้ แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ AI ยังคงมีข้อจำกัดด้านความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยมุมมองที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ดังนั้นเมื่อนักเรียนเกิดคำถาม AI จะทำหน้าที่ตอบด้วยสถิติของคลังข้อมูล ส่วนคุณครูในห้องเรียนจะมีส่วนสำคัญในการมองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายและเหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคลมากกว่า

เทคโนโลยี AI ช่วยให้คุณครูทำงานง่ายขึ้นได้อย่างไร ?

แน่นอนว่า AI ไม่สามารถเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์หรือคุณครูได้อย่าง 100% แต่ข้อดีของ AI ก็มีมากมายมหาศาลเช่นกัน เพราะในปัจจุบันระบบการศึกษาเองก็นำ AI เข้ามาช่วยในทำงานบางอย่าง ผ่านเครื่องมือออกแบบแผนการสอนดีๆ ที่ไว้วางใจได้ โดยแบ่งเป็น 4 ด้านที่น่าสนใจ ดังนี้ 

1. ด้านการวิเคราะห์การเรียนรู้ของนักเรียนแบบรายบุคคล

การนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ว่าควรปรับปรุงแผนการสอนไปในทิศทางใด เช่นเครื่องมือ IBM Watson Education เครื่องมือ AI ที่ช่วยให้คุณครูวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ และนำผลลัพธ์ที่ได้พัฒนาต่อยอดเป็นแผนการเรียนรู้ส่วนบุคคล รวมถึงส่งเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ให้กับเด็กๆ

2. ด้านการวางแผนบทเรียนอย่างเหมาะสม

AI สามารถช่วยให้คุณครูวางแผนการสอน และจุดประกายไอเดียวิธีมอบความรู้ให้เด็กๆ ได้อย่างรวดเร็วและสร้างเนื้อหาบทเรียนที่มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่นเครื่องมือ ClassPoint ตัวช่วยสร้างแบบทดสอบนักเรียนในรูป PowerPoint ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้คุณครูคิดค้นกิจกรรมในห้องเรียนได้น่าสนใจ พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ อยากมีส่วนร่วมในการเรียนมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ อยากโต้ตอบอย่างเต็มใจ ทำให้คุณครูสามารถประหยัดเวลาในการวางแผนคิดค้นบทเรียนที่มีคุณภาพ และเหลือเวลามาใส่ใจเด็กนักเรียนที่อยู่ในการดูแลของตนเองมากยิ่งขึ้น เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่คุณครูจะต้องทุ่มเทความสนใจว่าพวกเขามีความสนใจอะไร แล้วดึงแรงบันดาลใจนั้นมาต่อยอดเพื่อให้พวกเขาเติบโตอย่างเป็นตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญเครื่องมือ ClassPoint ยังสามารถสร้างแบบทดสอบที่มีคุณภาพสูง เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็กๆ อีกด้วย

3. ด้านการประเมินที่แม่นยำ

ข้อดีของ AI คือสามารถให้คำแนะนำได้ในทันที ช่วยให้คุณครูวางแผนปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน เช่นเครื่องมือ Edulastic , Gradescope , Knewton , PracTutor เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่กระชับเวลาการทำงานของคุณครูมากขึ้น

4. ด้านการจัดการชั้นเรียน

AI ช่วยให้ครูจัดการห้องเรียนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การติดตามนักเรียนที่ขาดเรียนในรูปแบบแชทบอทที่สามารถตอบคำถามพื้นฐาน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักเรียน เช่นเครื่องมือ Classcraft , Hapara , Netop Vision เป็นต้น นับเป็นตัวช่วยที่ลดภาระงานของคุณครู แถมยังช่วยให้คุณครูนำผลลัพธ์ที่ได้ไปพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้ดีขึ้นได้เช่นกัน

คุณครูยุคใหม่จะเริ่มนำ AI มาปรับใช้ในการสอนได้อย่างไร ?

1. ลองนำเครื่องมือ AI บางตัวเข้ามาปรับมาใช้ในการทำงาน

ถ้ายังใช้งานเครื่องมือยุคใหม่ไม่ถนัด ก็ยังไม่ต้องหยิบมาทั้งหมดก็ได้! คุณครูสามารถค่อยๆ เรียนรู้เครื่องมือ AI ไปทีละนิด โดยการนำเครื่องมือบางตัวที่ใช้งานง่ายสำหรับตนเองเข้ามาช่วยในการทำงาน ก็จะค่อยๆ ต่อยอดการทำงานในอนาคตได้เอง

2. ค่อยๆ ทำความคุ้นเคยกับเครื่องมือ AI

เมื่อเรียนรู้เครื่องมือ AI ไปทีละนิด ก็จะค่อยๆ เกิดความคุ้นเคย เคล็ดลับคือคุณครูสามารถเข้าร่วม Workshop หรือการประชุมที่น่าสนใจ เพื่อนำความรู้เพิ่มเติมที่ได้จากเครื่องมือใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน

3. ปรึกษา / พูดคุยกับคุณครูท่านอื่น เพื่อไอเดียใหม่ๆ 

หากไม่รู้จะเริ่มต้นใช้เครื่องมือไหนดี สามารถพูดคุยหรือขอคำแนะนำจากคุณครูท่านอื่นๆ เพื่อนำเคล็ดลับที่ได้มาพัฒนาแผนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังอาจได้ไอเดียการสอนใหม่ๆ ที่ช่วยให้คุณครูทำงานง่ายขึ้นอีกเป็นเท่าตัว

4. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมด้วยกัน

ถ้าคุณครูอยากรู้ว่านักเรียนพึงพอใจกับเครื่องมือนี้หรือไม่ สามารถถามความคิดเห็นพวกเขาเพื่อใช้ในการวางแผนในระดับต่อไปได้ และเพื่อที่จะรู้ว่าเครื่องมือนี้ได้ผล หรือไม่ได้ผล แล้วนำไปแก้ไขในครั้งต่อไป

5. ติดตามความคืบหน้าการเรียนการสอน

เมื่อทดลองใช้เครื่องมือไประยะหนึ่งแล้ว คุณครูควรติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือไม่ เพื่อปรับกลยุทธ์การสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างที่เรารู้กันว่าเครื่องมือ AI ไม่สามารถทำงานแทนคุณครูในห้องเรียนได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าคุณครูใช้ประโยชน์จากมันโดยการนำเครื่องมือ AI เข้ามาปรับใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสมจริงๆ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานในบางจุด เหลือเวลาอันมีค่าไปพัฒนาแผนการสอนอย่างมีคุณภาพมากขึ้น สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียน รวมถึงสามารถกำหนดเป้าหมายการศึกษาในระดับที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และมีเวลาใส่ใจรายละเอียดของนักเรียนมากกว่าเดิม นำไปสู่การวางแผนพัฒนานักเรียนด้านอื่นๆ ในอนาคตได้ 


สามารถอ่านบทความเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ 10 วิธีที่ AI ถูกนำมาใช้ในการศึกษา

Chinapat Rachrugs

About Chinapat Rachrugs

สวัสดีค่ะ พัชรจาก Inknoe ClassPoint หลายๆ คนคงจะรู้จักกันมาอยู่แล้วจากกลุ่ม ClassPoint สื่อการสอนโต้ตอบได้ ที่เน้นแบ่งปันความรู้หลากหลาย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับพื้นที่ตรงนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้ และเทคโนโลยีจากทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้นมากขึ้นค่ะ

Supercharge your PowerPoint.
Start today.

500,000+ people like you use ClassPoint to boost student engagement in PowerPoint presentations.